ประตูใช้งานภายในมีกี่ประเภท

ประตูใช้งานภายในมีกี่ประเภท
ประตูลามิเนต
คือประตูที่มีการใช้วัสดุสำหรับปิดผิวเพื่อตกแต่งให้ประตูเกิดความสวยงาม วัสดุปิดผิวประตูโดยส่วนมากใช้แผ่นลามิเนตอัดแรงดันสูง(HPL) โดยเฉพาะแผ่นลามิเนตอัดแรงดันสูงของ AICA เพราะมีคุณสมบัติที่ทนต่อรอยขีดขวด ทนความชื้น มีความสวยงามเหมือนไม้จริง
ประตู uPVC คือ ประตูที่ผลิตจาก uPVC (Unplasticized Poly Vinyl Chloride) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นด้วยนวัตกรรมใหม่ด้วยการเติมสารเคมีชนิดอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้วัสดุแข็งแรงทนทาน ทนต่อสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ต่างจาก PVC ธรรมดาที่แตกหัก ผุพังได้ง่าย หมดกังวลเรื่องวัสดุโก่งตัว บวม หรือเสียหายเหมือนกับวัสดุอื่น ๆ
มักนิยมติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอก ทั้งประตูหน้าบ้าน ห้องนอน ห้องนั่งเล่นและห้องครัว หรือจะติดตั้งเป็นประตูกระจกบานเลื่อนกั้นห้องก็ได้เช่นกัน โดยห้องที่ได้รับความนิยมมาก คือ ประตูห้องน้ำ uPVC เพราะทนทานต่อความชื้น ทำความสะอาดง่าย และยังมีราคาประหยัดอีกด้วย
ประตู HDF (High Density Fiber) หรือประตูแผ่นใยไม้ ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติผสมกับกาวสังเคราะห์ อัดด้วยความดันและความร้อนสูง เพื่อให้เส้นใยประสานเป็นเนื้อเดียวกัน โครงสร้างบานประตูจึงแข็งแรงเหมือนไม้จริง เหมาะสำหรับใช้เป็นประตูภายใน ทนความชื้นได้ดี ใช้ร่วมกับห้องน้ำได้ แต่ต้องเป็นห้องน้ำที่มีการแยกส่วนเปียกส่วนแห้งชัดเจน และระบายอากาศได้ดี บานประตูชนิดนี้ไม่เหมาะกับการใช้ภายนอก ควรหลีกเลี่ยงการโดนแดดและฝนโดยตรง
ประตู WPC (Wood Plastic Composite)
หรือที่นิยมเรียกกันว่าไม้สังเคราะห์ เป็นนวัตกรรมที่มาทดแทนไม้ธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะทำจากไม้บดผสมพลาสติก นำมารีดเป็นแผ่น ทำให้ได้บานประตูที่แข็งแรงทนทาน (แต่น้อยกว่าไฟเบอร์กลาส) กันปลวก ไม่ลามไฟ กันแรงกระแทกได้ดี สามารถแช่น้ำได้ 100 % ในระยะเวลานานกว่า 30 วัน สามารถใช้งานได้ดีทุกส่วนของบ้านทั้งภายในและภายนอก
Related Posts

การจัดสวนในห้องน้ำ
"ข้อแนะนำในการจัดสวน ในห้องน้ำ"หากลูกค้าท่านใดต้องการมีสวนในห้องน้ำ คุณลูกค้าควรจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบสร้างบ้าน บ้านจะต้องมีปัจจัยที่เหมาะสมในการทำสวนในห้องน้ำ นอกจากปัจจัยเรื่อง ขนาดห้องน้ำ ขนาดสุขภัณฑ์ หรือระยะภายในห้องน้ำแล้ว คุณลูกค้าต้องหาแสงให้กับต้นไม้ เตรียมความพร้อมให้กับพื้นที่ที่จะปลูกต้นไม้เหล่านี้ อาจจะใช้ไม้กระถางมาจัดวางแล้วก็สลับสับเปลี่ยนกันไป หรือจะทำเป็นกระบะปลูกต้นไม้ไปเลยก็ได้ เมื่อเตรียมเรื่องแสงแล้วก็ต้องมาเตรียมพื้นที่ที่จะจัดสวน เตรียมโครงสร้าง กันซึม…

4 ข้อแนะนำ การทำห้องซักรีด
"4 ข้อแนะนำ การทำห้องซักรีด" 1. ตำแหน่งที่ตั้ง ✅ ชั้นล่าง ลูกค้าส่วนมากจะวางตำหน่งห้องซักรีดไว้ชั้นล่าง เพราะสะดวกต่อการทำงานในส่วนเปียก บางครอบครัวอาจเอาพื้นที่ซักล้างออกมาอยู่นอกอาคาร สามารถจัดการระบบน้ำดีและน้ำทิ้งได้ง่าย ✅ชั้นบนหรือดาดฟ้า ปัจจุบันมีดีไซเนอร์จำนวนมากที่ออกแบบให้พื้นที่ส่วนนี้อยู่ชั้นบน โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องอยู่ชิดหรือใกล้ระเบียงที่สามารถตากผ้าได้ ซึ่งหมายความรวมถึงดาดฟ้าด้วย เพราะบ้านอาจไม่มีพื้นที่ใช้สอยด้านล่างน้อย…
Leave a Reply