กระเบื้องยางพื้น SPC (Stone Plastic Composite)

กระเบื้องยางพื้น SPC (Stone Plastic Composite) คือกระเบื้องไวนิลที่มีชั้น Core Layer เป็น SPC มีพื้นผิวสัมผัสที่เหมือนพื้นไม้จริงไม่ลื่น มีความปลอดภัยเป็นมิตรต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม เกิดจากการผสมกันหินปูนบดอัดเข้ากับพลาสติก สิ่งที่ได้คือความแข็งตัวสูงและไม่มีการยืดหดตัวจึงไม่พบปัญหาการเกยกันหรือโก่งตัวของแผ่นกระเบื้องที่ใช้งานในพื้นที่ ที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก ผลิตด้วยนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่มคุณสมบัติเด่นมีส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้พื้น SPC มีความทนทานมากยิ่งขึ้น คือ หินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต)+ผงพีวีซี+เครื่องป้องกันอัคคี กระเบื้องยาง SPC จึงมีเสถียรภาพที่คงทน กันน้ำ กันไฟ กันปลวก ทนทานต่อรอยขีดข่วนได้ดี ความหนาของแผ่นกระเบื้อง 3-4 มิลลิเมตรแต่ด้วยความแข็งของวัสดุจึงทนต่อแรงกระแทก แรงกดทับและการขีดข่วนได้มากและยังสามารถใช้งานในที่เปียกชื้นอย่างห้องน้ำได้สบายๆโดยมีการ
การติดดั้ง วิธีการติดตั้งและปูพื้นกระเบื้องยางSPCเบื้องต้นให้ปูตามแนวเส้นของพื้นที่กำหนดเอาไว้โดยให้ปูแบบลายขัดแล้วเว้นระยะขอบเอาไว้ประมาณ5-6เซนติเมตรเผื่อในกรณีที่พื้นยืดและหดตามอุณหภูมิโดยรอบและหากเป็นการปูทับพื้นเดิมก็สามารถทำได้เนื่องจากใช้ระบบ Click-Lock ช่วยลดความซับซ้อนในการติดตั้งได้ดี รื้อถอนก็ง่ายกว่าพื้นแบบอื่น
พื้นไม้ SPC ติดผนังห้อง อีกทริกที่หลายๆคนไม่รู้พื้นไม้SPCนำไปปูพื้นผนังได้ เช่นผนังห้องนั่งเล่น ผนังห้องครัว ก็จัดว่าเหมาะกับคนที่ชื่นชอบความสวยงามของลายไม้และไม่อยากเสียเงินไปกับการทำผนังห้องมากเกินไป
วิธีการดูแลรักษาพื้นไม้ SPC สามารถดูแลพื้นโดยการกวาด ดูดฝุ่น ถูพื้นด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆแบบปกติได้เลยข้อควรระวังคือไม่ควรทำความสะอาดด้วยการใช้น้ำยาชนิดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ไม่ควรใช้WAXขัดเคลือบผิว เพราะจะไปกัดสารที่เคลือบอยู่บนพื้นผิวตัวกระเบื้องให้หลุดออกได้
ข้อดี✅
- สามารถทนน้ำและทนความชื้นได้ดี ไม่นับรวมกาวที่ใช้ในการติดตั้ง ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้งานในที่ชื้น
- หมดปัญหาเรื่องปลวกเนื่องจากไม่มีส่วนประกอบของไม้
- ติดตั้งง่ายสามารถปูบนพื้นบ้านใหม่ได้เลย หรือปูทับวัสดุเดิมเพื่อปรับโฉมให้บ้านเก่า
- ไม่มีสาร Formaldehyde ซึ่งเป็นสารอันตรายต่อร่างกาย พบเจอได้บ่อยในวัสดุการสร้างบ้านและอาคาร
Related Posts

แผ่นพื้นในงานก่อสร้าง
ในการสร้างบ้าน หนึ่งหลัง โครงสร้างของพื้น เป็นส่วนที่มีบริเวณกว้างของบ้าน ต้องมีความแข็งแรง ทนทานพอที่จะรับน้ำหนักผู้คน และสิ่งของต่างๆภายในอาคาร รวมไปถึงต้องแข็งแรงพอที่จะรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างภัยพิบัติ แผ่นดินไหวที่อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งวิศวกรจะต้องมีการคำนวณและออกแบบให้ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของทุกคนภายบ้าน สามารถเลือกใช้พื้นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้งานพื้นแบ่งเป็น 3 ประเภท…

ข้อควรระวังในการทำห้องนอนขนาดใหญ่
ข้อควรระวังในการทำห้องนอนขนาดใหญ่ ไม่ควรสร้างห้องนอนทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะช่วงกลางวันทิศนี้จะรับแดดบ่าย ทำให้ความร้อนถูกเก็บสะสมไว้ในห้องจนถึงช่วงกลางคืน ทำให้ห้องนอนหายร้อนช้า นอนหลับไม่สบายไม่ควรหันหัวเตียงใกล้หน้าต่างที่เป็นกระจก เนื่องจากแสงสว่างและความร้อนจะส่องเข้ามาถึงบริเวณศีรษะอย่างเต็มที่ รวมถึงหากเปิดหน้าต่างไว้ก็อาจมีลมหนาวเข้ามาปะทะที่ศีรษะด้วยเช่นกัน และอาจส่งผลต่อร่างกายได้ง่าย ๆ ทำให้เป็นหวัดหรือไม่สบายได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ปลายเตียง เพราะลมจากเครื่องปรับอากาศมักเป็นลมที่มีความชื้นต่ำ หากกระทบกับร่างกายตรงอาจทำให้ร่างกายปรับอุณหภูมิยาก ควรวางเครื่องปรับอากาศไว้เหนือศีรษะ…
Leave a Reply