July 15, 2024 in Blog

หลังคาบ้าน Solar Cell ประหยัดไฟได้จริงหรือ ?

content 17
โซลาร์เซลล์ (SOLAR CELL) หลังคาบ้านโซลาร์เซลล์ช่วยลดค่าไฟ ติดตั้งยังไงให้คุ้มค่าที่สุด                
โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) หลังคาบ้านโซลาร์เซลล์ช่วยลดค่าไฟ ติดตั้งยังไงให้คุ้มค่าที่สุด                
เชื่อว่าหลายคนเริ่มหันมาสนใจการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ส่วนหนึ่งเพราะมีการให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาด อยากช่วยรักษ์โลกมากยิ่งขึ้น แต่อีกส่วนหนึ่งนั้นก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของความคุ้มค่าที่ได้จากการติดโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ต้องการลดค่าไฟในแต่ละเดือน หรือแม้แต่การขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้า 
ด้วยเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ปัจจุบันการติดตั้งโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คุ้มค่ามากขึ้น คืนทุนเร็วยิ่งขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราถึงควรหันมาให้ความสำคัญและติดโซลาร์เซลล์บ้านพักอาศัย / ออฟฟิศ / โรงงาน / ร้านอาหาร หรืออื่นๆ อีกมากมาย   
หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ลดค่าไฟได้จริงไหม?                  
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) สามารถช่วยลดค่าไฟได้จริง!! แต่จะคุ้มทุน-คืนทุนเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับขนาดของระบบโซลาร์ (Solar) และพฤติกรรมการใช้ไฟของเจ้าของบ้านแต่ละหลัง เปรียบเทียบง่ายๆ หากเราลงทุนกับการติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ในมูลค่าที่เท่ากัน บ้านที่มีการติดตั้งระบบโซลาร์ขนาดใหญ่และใช้ไฟฟ้ามากย่อมคืนทุนเร็วกว่าบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเป็นบ้านที่ใช้ไฟกลางวันเป็นหลัก ผลิตไฟฟ้าได้แล้วใช้เลยจึงจะคุ้มค่ามากที่สุด (ระบบ On grid) เพราะในปัจจุบันระบบ Energy Storage สำหรับใช้ในบ้านยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทำให้จุดคุ้มทุนยิ่งนานขึ้นตามกันไป​​​​​​​
บ้านแบบไหนเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์ (Solar)                  
บ้าน/ออฟฟิศ/สำนักงาน/ร้านอาหาร/อาคารที่ใช้ไฟกลางวัน                  
เช่น โซลาร์เซลล์บ้านพักอาศัย ที่มีพ่อแม่อยู่บ้าน-กลุ่มวัยเกษียณอายุที่อยู่บ้านในช่วงกลางวัน กลุ่มคนที่ทำงานที่บ้าน (Work from home) สำนักงาน/โฮมออฟฟิศ หรือแม้แต่ร้านอาหารที่ใช้ไฟกลางวันก็เหมาะสมเป็นอย่างมาก เพราะอย่างที่บอกไปข้างต้นว่า “หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ (Solar Cell)” ระบบ On grid คือ การผลิตไฟฟ้าช่วงกลางวันได้แล้วใช้เลย และควรมีค่าไฟขั้นต่ำ 3,000 บาท
หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าการ ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ไม่ใช่ว่าจะติดตั้งแบบไหนก็ได้ เพราะแผงโซลาร์ (Solar Panel) / อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ หรือ Inverter แต่ละยี่ห้อมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน รวมไปถึงหากใช้วิธีการติดตั้งที่ไม่ดีจะเสี่ยงรั่ว และต้องดำเนินการขออนุญาตจากภาครัฐก่อนถึง 3 หน่วยงาน  
แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel) ที่ใช้กับงานหลังคาส่วนใหญ่เป็นแผงเทคโนโลยี Crystalline ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ              
1) Monocrystalline เป็นเซลล์แบบผนึกเดียว ที่ผลิตจากซิลิคอนบริสุทธิ์ (เกรดดีที่สุด) ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด               
2) Polycrystalline เป็นเซลล์แบบผนึกรวม ที่ผลิตจากซิลิคอนทั่วไป ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบผนึกเดียว               
ซึ่ง SCG Solar Roof เลือกใช้แบบ Monocrystalline                  
2. อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ หรือ Inverter                   
Inverter ถือเป็นหัวใจของระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ถ้าใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การทำงานไม่เสถียร จะส่งผลต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น ทำให้ไฟกระชาก ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหาย นอกจากนี้ยังต้องเป็น Inverter ที่ได้รับการรับรองจาก MEA และ PEA อีกด้วย    
สำหรับ Inverter ที่ SCG เลือกใช้เป็นของยี่ห้อ ABB เทคโนโลยีสวิสเซอร์แลนด์ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานจาก MEA, PEA และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล            
3. วิธีการติดตั้งระบบโซลาร์ (Solar)                   
โดยส่วนใหญ่แล้วบริการติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ของแบรนด์ทั่วๆ ไป มักจะเจาะกระเบื้องหลังคาเพื่อยึดแผงโซลาร์ (Solar) เข้ากับผืนหลังคาของบ้านหลังนั้นๆ แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีการดังกล่าว ส่งผลเสียทำให้หลังคาเสี่ยงรั่วเป็นอย่างมาก แทนที่จะผลิตไฟฟ้าเพื่อลดค่าไฟได้อย่างสบายใจ กลับกลายเป็นปัญหาหลังคารั่วให้เจ้าของบ้านปวดหัวมากกว่าเดิม
การติดตั้งระบบหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ที่ดีที่สุดคือ ต้องไม่เจาะกระเบื้องหลังคา ซึ่งวิธีการที่ SCG เลือกใช้จะเป็นการใช้กระเบื้อง Solar FIX (จดสิทธิบัตรเฉพาะ SCG เท่านั้น) ดำเนินการโดยถอดกระเบื้องแผ่นเดิมออกแล้วแทนที่ด้วย Solar FIX ทำให้สามารถติดตั้งโซลาร์ (Solar) บนหลังคาได้อย่างไม่เสี่ยงรั่ว  
นอกจากเรื่องวิธีการติดตั้งระบบหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ที่ไม่ก่อให้เกิดการเสี่ยงรั่วแล้ว ก่อนหน้าที่จะดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์ (Solar) ทาง SCG ยังมีบริการ Roof Health Check เป็นการตรวจสภาพหลังคาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนติดตั้งโซลาร์ (Solar) เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคา, ปัญหารั่วเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้า ซึ่งหากพบปัญหาจะแนะนำ รวมถึงมีบริการในการซ่อม-ปรับปรุงหลังคาให้อยู่ในสภาพดีก่อนที่จะติดตั้งโซลาร์ (Solar) อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้หลังคาอยู่คู่กับระบบโซลาร์ (Solar) ได้ตลอดอายุการใช้งาน
4. การขออนุญาตจากภาครัฐ                    
ก่อนการติดตั้งหลังคาโซลาร์ (Solar) เจ้าของบ้านต้องดำเนินการการขออนุญาตจากภาครัฐถึง 3 หน่วยงาน คือ               
1) เขต หรือ เทศบาล                    
2) MEA หรือ PEA                    
3) คณะกรรมการกองกำกับกิจการพลังงาน                   
สำหรับเจ้าของบ้านท่านใดที่กำลังสนใจบริการติดตั้งระบบหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ต้องศึกษาข้อมูลของแต่ละแบรนด์ให้ดีและครอบคลุมในทุกๆ ปัจจัย เพราะโซลาร์ (Solar) จะติดอยู่ที่บ้านเราไปอีกหลายสิบปี หากเลือกไม่ดีก็อาจจะมีปัญหาตามมาให้ปวดหัวได้ไม่น้อย     



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

By browsing this website, you agree to our privacy policy.
I Agree