วิธีการสำรวจพื้นที่ก่อนการก่อสร้าง

Checklist สำรวจพื้นที่ก่อนสร้างบ้าน 🏡
การสำรวจพื้นที่ก่อนการสร้างบ้านเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำ เมื่อทราบความต้องการในการก่อสร้างของลูกค้าแล้ว วิศวกรจะดำเนินการเข้าสำรวจพื้นที่เพื่อให้ลูกค้าทราบว่าที่ดินของลูกค้าสามารถทำการก่อสร้างได้หรือไม่ และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเรื่องใดบ้าง ซึ่งวันนี้เราได้ทำการสรุปรายละเอียดแต่ละประเด็นจากใบสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง มาไว้ให้ศึกษา ในโพสต์นี้กันเลย
- ตำแหน่งที่ดิน พิกัดของที่ดิน และระยะทางจากบริษัทรับสร้างบ้าน
- การเข้าพื้นที่ก่อสร้าง
- เส้นทางเข้าพื้นที่ก่อสร้าง มีเส้นทางเข้ากี่เส้นทาง และควรมีความกว้างมากพอ เพื่อให้รถขนของสำหรับการก่อสร้างสามารถเข้าพื้นที่ได้
- ถนนหน้าพื้นที่ก่อสร้าง ถนนมีสภาพเป็นอย่างไร มีความกว้างของถนนเท่าไหร่ มีสะพานและซุ้มหรือไม่ ความสูงของสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ จำเป็นจะต้องทำการค้ำยันหรือไม่ รวมไปถึงอุปสรรคต่างๆจากทางเข้าถึงที่ดินก่อสร้าง เช่น มีรถจอดข้างทาง รถขายของ หรือผ่านจุดที่มีรถจอดหนาแน่นหรือไม่
- สภาพของที่ดิน
- การเช็คสภาพของที่ดินเช็คสภาพที่ดินว่าเป็นอย่างไร เช่น เป็นที่ดินเปล่า ต้องทุบสร้างใหม่ หรือเป็นการสร้างเพิ่มในที่ดินเดิม และลูกค้าจำเป็นต้องเคลียร์พื้นที่หรือไม่
- ประเภทของเสาเข็ม ใช้เข็มเจาะหรือเข็มตอก ซึ่งการเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละพื้นที่
- ความสูงของที่ดิน เป็นการสำรวจว่าที่ดินมีความสูงหรือต่ำกว่าถนนเท่าไหร่ ลูกค้ามีความต้องการถมดินหรือไม่ รวมไปถึงการสำรวจหลักเขตที่ดิน และต้องทำรั้วงานก่อสร้างหรือไม่
- ขนาดของที่ดิน ที่ดินที่ทำการก่อสร้างมีขนาดความกว้างและความยาวเพียงพอต่อขนาดบ้าน รวมถึงสามารถเก็บวัสดุก่อสร้าง และสามารถตั้งที่พักของคนงานได้หรือไม่ เพื่อออกแบบบ้านให้อยู่ในที่ดินได้อย่างเหมาะสม
- ไฟฟ้าและประปาสำหรับการก่อสร้าง เช็คเลขมิเตอร์ไฟฟ้าและเลขมิเตอร์ประปาข้างเคียงที่ใกล้พื้นที่ก่อสร้างที่สุด เพื่อใช้ในการยื่นขออนุญาตไฟฟ้า-ประปาชั่วคราวเมื่อทำการสำรวจพื้นที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว วิศวกรสำรวจจะเป็นผู้สรุปว่าพื้นที่สามารถก่อสร้างได้หรือไม่ และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอะไรบ้างจากการสำรวจ ซึ่งถือเป็นการเสร็จสิ้นของการสำรวจพื้นที่
Related Posts

5 จุดสำคัญ ต้องตรวจบ้านหลังน้ำท่วม-แผ่นดินไหว
5 จุดสำคัญ ต้องตรวจบ้านหลังน้ำท่วม-แผ่นดินไหว1. ตรวจโครงสร้างหลัก (เสา-คาน-พื้น)มองหารอยร้าวที่ลึก ทิศทางเฉียง หรือเสาเอียง✅หากมีรอยร้าวผ่านแนวเสาหรือคาน อาจบ่งบอกถึงความเสียหายที่ต้องให้วิศวกรตรวจทันที✅หากพื้นทรุดหรือปูนแตกร่อน อาจเกิดจากดินอ่อนหลังน้ำท่วม2. เช็กระบบไฟฟ้าน้ำท่วมอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหรือเกิดไฟรั่ว✅ตรวจปลั๊ก สวิตช์ เบรกเกอร์ และสายไฟ✅ห้ามเปิดใช้งานทันที จนกว่าช่างไฟจะตรวจสอบและยืนยันว่าปลอดภัย3. ตรวจผนัง-ฝ้าเพดานความชื้นจากน้ำท่วมอาจทำให้✅สีลอก…

สร้างบ้านช่วงหน้าฝน
ลูกค้าหลายท่านอาจจะสงสัยว่า เราสามารถสร้างบ้านช่วงหน้าฝนได้หรือไม่ คำตอบคือได้ค่ะ แค่ต้องมีวิธีรับมือ 💦💧⛈ 1.วางแผนงานล่วงหน้าช่วงหน้าฝนควรวางแผนให้ชัดเจนโดยเฉพาะช่วงงานโครงสร้าง งานเทพื้น รวมไปถึงงานภายในไม่ว่าจะเป็นงานเดินไฟหรืองานติดตั้งสุขภัณฑ์ 2. เตรียมผ้าใบคลุมวัสดุวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูน ทราย เหล็ก และไม้…
Leave a Reply