การยื่นอนุญาตก่อสร้าง

เอกสารที่จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างนั้นมีอะไรบ้างวันนี้ABCมีคำตอบ☑ |
1. กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1) |
2. เอกสารแปลนบ้าน แบบบ้าน และรายละเอียดการก่อสร้างงจะต้องแสดงผังบริเวณรวม และแสดงแบบรายละเอียดของชั้นต่างๆ รวมถึงแบบแสดงรูปด้านทุกด้าน แสดงรายละเอียดทั้งหมดของงานสถาปัตยกรรมและงานวิศวกรรม ที่ได้มาตรฐานมีสถาปนิกและวิศวกรเป็นผู้เซ็นรับรองแบบ |
3. รายการคำนวณ ของวิศวกรโครงสร้าง เป็นการแสดงว่าอาคารได้ผ่านการออกแบบโดยวิศวกรแล้ว เพื่อให้มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยสำหรับก่อสร้างและใช้งานได้ |
4. หนังสือรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน ผู้ควบคุมและเอกสารจากวิศวกรคุมงานก่อสร้าง |
5. เอกสารแสดงการเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างซึ่งต้องเป็นวิศวกร พร้อมเซ็นคุมแบบและคุมการก่อสร้างระหว่างทาง |
6. สำเนาโฉนดที่ดินไม่ย่อไม่ขยาย (หากผู้ที่จะสร้างบ้านไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จะต้องมีหลักฐานเอกสารยินยอมปลูกสร้างบนที่ดินจากเจ้าของด้วย) |
7. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร (กรณีโฉนดไม่ใช่ชื่อเดียวกันกับผู้ขออนุญาต จำเป็นต้องมี สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดินด้วย) |
8. หนังสือแสดงการมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ได้ไปยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วยตัวเอง) |
หมายเหตุ: จำนวนชุดของเอกสาร จะต้องสอบถามข้อมูลอัพเดตจากสำนักงานเขตท้องถิ่นที่จะยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน |
Related Posts

แผ่นพื้นในงานก่อสร้าง
ในการสร้างบ้าน หนึ่งหลัง โครงสร้างของพื้น เป็นส่วนที่มีบริเวณกว้างของบ้าน ต้องมีความแข็งแรง ทนทานพอที่จะรับน้ำหนักผู้คน และสิ่งของต่างๆภายในอาคาร รวมไปถึงต้องแข็งแรงพอที่จะรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างภัยพิบัติ แผ่นดินไหวที่อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งวิศวกรจะต้องมีการคำนวณและออกแบบให้ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของทุกคนภายบ้าน สามารถเลือกใช้พื้นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้งานพื้นแบ่งเป็น 3 ประเภท…

ข้อควรระวังในการทำห้องนอนขนาดใหญ่
ข้อควรระวังในการทำห้องนอนขนาดใหญ่ ไม่ควรสร้างห้องนอนทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะช่วงกลางวันทิศนี้จะรับแดดบ่าย ทำให้ความร้อนถูกเก็บสะสมไว้ในห้องจนถึงช่วงกลางคืน ทำให้ห้องนอนหายร้อนช้า นอนหลับไม่สบายไม่ควรหันหัวเตียงใกล้หน้าต่างที่เป็นกระจก เนื่องจากแสงสว่างและความร้อนจะส่องเข้ามาถึงบริเวณศีรษะอย่างเต็มที่ รวมถึงหากเปิดหน้าต่างไว้ก็อาจมีลมหนาวเข้ามาปะทะที่ศีรษะด้วยเช่นกัน และอาจส่งผลต่อร่างกายได้ง่าย ๆ ทำให้เป็นหวัดหรือไม่สบายได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ปลายเตียง เพราะลมจากเครื่องปรับอากาศมักเป็นลมที่มีความชื้นต่ำ หากกระทบกับร่างกายตรงอาจทำให้ร่างกายปรับอุณหภูมิยาก ควรวางเครื่องปรับอากาศไว้เหนือศีรษะ…
Leave a Reply